5 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ SEO รูปภาพ และเทคนิคในการทำให้เว็บ และภาพติดอันดับ
สำหรับ SEO Checklist หรือเทคนิคการทำ SEO ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Keyword, Backlink, Meta Tag, Meta Description และอื่นๆ “รูปภาพ” เองก็เป็น 1 ในสิ่งที่สำคัญ เพราะจะให้ Search Engine เข้าใจว่าเราใช้รูปภาพอะไรบนเว็บไซต์ และเมื่อมีคนค้นหารูปภาพบน Google Image หรือการค้นรูปบน Google ด้วย Keyword เหล่านั้น ก็จะแสดงผลด้วยรูปภาพ ดึงดูดให้คลิกที่รูป ตรงเข้ามาที่เว็บไซต์ของเรา และเพิ่มมูลค่าของเว็บไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชม หรือซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ของเรา
แต่ปี 2021 ก็ยังมีคนเข้าใจผิดอยู่ดี เพราะฉะนั้น Digital Area ขอปรับความเข้าใจ และเทคนิคการทำ SEO รูปภาพ จากทั้ง 5 ข้อนี้กันได้เลย
ความเข้าใจผิดที่ 1: ชื่อไฟล์ภาพจะตั้งชื่ออะไรก็ได้
สิ่งที่ถูกต้อง: ควรตั้งชื่อไฟล์ภาพให้เข้ากับรูปภาพจะดีกว่านะ
เข้าใจว่าการถ่ายภาพไม่ว่าจะจากกล้องมือถือ หรือกล้อง DSLR ชื่อไฟล์มักจะเป็น DSCxxx.jpg หรือ screenshot มาก็อัป image.jpg เข้าไปเลย แต่เชื่อเถอะว่าการ Rename ชื่อรูป และใส่ชื่อไฟล์ภาพให้เหมาะสมกับรายละเอียดภาพ รวมถึงชื่อไฟล์ที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น ภาพกาแฟ ก็อาจจะปรับเป็น coffee.jpg ก่อนอัปโหลดเข้าไป ด้วยเหตุผลง่ายๆ เลยก็คือ สิ่งที่ Search Engine มองเห็น ไม่ได้เห็นเป็น “รูปภาพ” แต่เห็นชื่อไฟล์ และโค้ดต่างๆ นั้นเอง

ความเข้าใจผิดที่ 2: เพื่อความชัด ใช้ภาพใหญ่อัปโหลดเข้าไป เดี๋ยวเว็บไซต์ย่อให้เอง
สิ่งที่ถูกต้อง: ควรย่อ และลดขนาดภาพให้เหมาะสมก่อนอัปโหลดเข้าไป
สิ่งที่สำคัญในการทำไฟล์ภาพอัปโหลดขึ้นไปบนเว็บไซต์คือ ควรทำภาพให้มีไฟล์ขนาดเล็ก แต่คมชัด และมีขนาดพอดีกับเว็บไซต์ของเรา โดยสามารถใช้โปรแกรมเสริมในการบีบอัดไฟล์ ได้แก่ tinyjpg, tinypng, reduceimage โดยเราสามารถเช็คว่าภาพไซส์ไหนเหมาะสมกับขนาดเว็บไซต์ของเรา ให้ลองคลิกที่ inspect > element แล้วชี้ดูที่รูปภาพได้เลย

ความเข้าใจผิดที่ 3: ภาพบนคอนเทนต์ใช้ .png บนเว็บไซต์ดีกว่า .jpg
สิ่งที่ถูกต้อง: จะใช้ .jpg หรือ .png ก็ได้ ขนาดและไซส์สำคัญกว่า
ภาพบนเว็บไซต์ หากเป็นภาพถ่ายทั่วไป ไม่ว่าจะจากกล้องหรือจาก stock แนะนำว่าใช้ .jpg หรือ .webp แต่กรณีต้องการพื้นหลังโปร่งใส เช่น icon, logo หรือ vector ขอแนะนำว่าให้ใช้ .png-8 และสำหรับภาพที่มีเอฟเฟ็คสูงหน่อยก็แนะนำ png-24 นอกจากนามสกุลของภาพแล้ว ก็อย่าลืมเรื่องขนาด และไซส์ของภาพด้วย (วิธีย่อไฟล์ขึ้นไปด้านข้างบนได้เลย)
ความเข้าใจผิดที่ 4: Alt Text ใส่ทำไม ยังไง Google ก็หาเจอ
สิ่งที่ถูกต้อง: ถ้าอยากทำ SEO เจ้า Alt Text นี่แหละ สำคัญที่สุด
สำหรับ Alt Text หรือ Alt Attribute นั้น ผู้ชมเว็บไซต์จะไม่เห็นค่านี้บนรูปภาพของเรา แต่สำคัญ Google จะเห็นค่านี้แทนที่จะเห็นเป็นรูปภาพ และ Alt Text จะทำหน้าที่เป็นเสมือนข้อความที่ให้บอทของ Google เข้ามาอ่านค่าจากภาพได้ และรู้ว่าภาพของเราเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับอะไร

เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญของการตั้ง Alt Text ก็คือ
- ข้อความที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพนั้น
- พยายามอย่าใช้เครื่องหมาย (-) แต่ให้ใช้เป็นเว้นวรรคแทน
- อย่าใส่ Alt Text ในรูปภาพซ้ำๆกัน
สำหรับคนที่ใช้ WordPress ไม่ค่อยมีปัญหาในการใส่ Alt Text เพราะจะมีในกรณีที่เราใช้เว็บอัปโหลดภาพจากข้างนอก และนำลิงค์ภาพมาใส่ เราสามารถเพิ่ม Alt Text ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
กรณีไม่ปรับไซส์ภาพใช้โค้ด
<img src=”ลิงค์ภาพ” alt=”Alt text”>กรณีต้องการปรับไซส์ภาพใช้โค้ด
<img src=”ลิงค์ภาพ” alt=”Alt text”” width=”500″ height=”500″>
โดยสามารถเช็คว่าภาพของเราใส่ Alt Text ถูกต้องหรือได้ที่ inspect > element เลือกลูกศร และชี้ไปที่ภาพ ให้สังเกตโค้ดที่มี alt= หลังลิงค์รูปภาพ

ความเข้าใจผิดที่ 5: ใส่รูปภาพเยอะๆ ไม่เป็นไรหรอก ช่วยเรื่อง SEO ได้
สิ่งที่ถูกต้อง: ใส่จำนวนที่พอเหมาะดีที่สุด เพื่อไม่ให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดช้า และหนักจนเกินไป
สิ่งที่สำคัญ และบางคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าในการทำ SEO นั้น “Page Speed” มีผลต่อการให้คะแนนเว็บไซต์ด้วย ลองนึกภาพว่า ถ้าเราอัปโหลดภาพขนาดใหญ่เข้าไป แล้วทำให้หน้าเว็บดาวน์โหลดช้าลง นอกจากจะมีผลต่อ SEO แล้วยังมีผลต่อ User Experience อีกด้วย โดยถ้าอยากวัดว่าเว็บไซต์ของเราเร็วขนาดไหน ให้เข้าไปที่
PageSpeed Insights แล้ววาง URL ลงไป โดยจะเฉลี่ยออกมาเป็นคะแนนให้เรา และการแนะนำวิธีการแก้ไขให้เราด้วย

สรุปเทคนิค และวิธีการทำ SEO รูปภาพ
1. ควรตั้งชื่อไฟล์ภาพให้เข้ากับรูปภาพจะดีที่สุด
2: ควรย่อ และลดขนาดภาพให้เหมาะสมก่อนอัปโหลดเข้าไป
3. จะใช้ .jpg หรือ .png ก็ได้ ขนาดและไซส์สำคัญกว่า
4. ถ้าอยากทำ SEO เจ้า Alt Text นี่แหละ สำคัญที่สุด
5.ใส่จำนวนที่พอเหมาะดีที่สุด เพื่อไม่ให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดช้า และหนักจนเกินไป
ลองนำไปปรับในการทำ SEO รูปภาพกันดูนะคะ